แมววิเชียรมาศ ตรงกับความหมายว่า "เพชรแห่งดวงจันทร์" หรือ "Moon Diamond" บางตำราก็เรียก "แมวแก้ว" ซึ่งก็ตรงกับคำว่า "วิเชียร" แมวชนิดนี้มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นแมวเก้าแต้มเสมอ ที่จริงแล้วไม่ถูกต้อง แมวเก้าแต้มคือแมวที่มีสีพื้นสีขาว และมีแต้มบนร่างกาย 9 แห่ง เหตุที่มักเข้าใจผิดเพราะแมววิเชียรมาศ จะมีสีพื้นสีขาวงาช้าง (หรือโบราณจะเป็นขาวล้วนก็ไม่ทราบ) และมีแต้มที่จมูกครอบไปถึงปากเป็นหนึ่งแห่ง กับขาทั้งสี่ หูสอง หางหนึ่ง และที่อวัยวะเพศอีกหนึ่ง รวมเป็น 9 แห่งเช่นกัน ในแมววิเชียรมาศนี้แต้มตามตำราว่าไว้ว่าต้องเป็นสีดำดังหมึกวาด แต่ปัจจุบันเมื่อดูให้ดีแล้วจะเป็นแต้มสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ไม่ได้ดำสนิท หรือที่ต่างประเทศเรียกว่า Seal brown หรือแต้มสีครั่ง แมววิเชียรมาศเป็นที่รู้จักในต่างประเทศโดยใช้ชื่อว่า แมวสยาม (Siamese Cat) แต่ต่างประเทศจะมีแต้มสีอื่นที่หลากหลายกว่า ซึ่งประเทศไทยจะยอมรับเฉพาะแมวที่มีแต้มสีน้ำตาลเข้มเท่านั้น นัยน์ตาสีฟ้าก็เป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของแมวชนิดนี้
แมววิเชียรมาศ เป็นแมวไทยโบราณที่มักเลี้ยงกันในวัง ตั้งแต่สมัยอยุธยา และเป็นแมวมงคลตามตำรา มักกล่าวว่าแมวมงคลคนธรรมดาสามัญชนไม่สามารถเลี้ยงได้ เมื่อสมัยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่2 แมวไทย 17ชนิดในพระราชวังของกรุงศรีอยุธา ได้ถูกพวกพม่า และเชลย ได้นำไปพม่า เพราะพม่าคิดว่า แมวไทยคือทรัพย์สินที่มีค่าชนิดนึงเนื่องจากแมวไทยในอยุธยาสามารถซื้อขายได้ถึง 1แสนตำลึงทอง หากใครมีแมวชนิดนี้จึงนำมาขายแก่วัง ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้แมวไทยสูญพันธุ์ หลังจากนั้น แมววิเชียรมาศก็สาบสูญหายไปจากประเทศไทย ต่อมา สมเด็จพุฒาจารย์ พุทธสโร ได้ไปเที่ยวกรุงศรีอยุธยาร้าง แล้วไปเจอสมุดข่อยที่ไม่ถูกเผา จึงนำสมุดข่อยกลับมา แล้วให้คนไปไล่ต้อนจับแมววิเชียรมาศ จนได้แมววิเชียรมาศกลับมาสู่ประเทศไทยอีกครั้ง
อ้างอิงมาจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A8
อ้างอิงมาจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A8
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น